สัญญาณอันตรายโรคกรดไหลย้อน

Last updated: 21 ม.ค. 2566  |  300 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สัญญาณอันตรายโรคกรดไหลย้อน

สัญญาณอันตราย โรคกรดไหลย้อน

1.  กลืนอาหาร ลำบาก

2. กลืนอาหาร แล้วเจ็บคอ

3. อาเจียนบ่อยๆ

4. อาเจียนเป็นเลือด หรือมีอาการซีด

5. น้ำหนักลด

โรคฮิตวัยทำงาน
โรคกรดไหลย้อน หากรักษาไม่ถูกวิธีหรือปล่อยไว้นาน อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ เราจึงไม่ควรปล่อยอาการดังกล่าวให้ผ่านไป อย่างนั้นลองมาทำความรู้จักกับ “โรคกรดไหลย้อน” กันดีกว่า 

  โรคที่มีอาการเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปใน หลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลากลางวันหรือกลางคืน หรือแม้แต่ผู้ป่วยไม่ได้รับประทานอาหารก็ตาม ทำให้เกิดอาการระคายเคืองจากกรด เช่น อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบและมีแผล หรือถ้ากรดไหลย้อนขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อ หูรูดของหลอดอาหารส่วนบน อาจทำให้เกิดอาการนอกหลอดอาหาร เช่น อาการทาง ปอด หรือ อาการทางคอและกล่องเสียง
อาการ คือ แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่แล้วลามขึ้นมาที่หน้าอกหรือคอ 
   อาการนี้จะเป็นมากขึ้นหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยก ของหนัก หรือการนอนหงาย ส่วนอาการอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ กลืนลำบาก, กลืนแล้วเจ็บ, เรอบ่อย, ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนกลางคืน, เสียงแหบเรื้อรัง เจ็บคอ และรู้สึก ระคายเคืองทางเดินหายใจ, เจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีปัญหาโรคหัวใจ นอกจากนี้ ยังพบว่า โรคกรดไหลย้อนอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไซนัสอักเสบเรื้อรังและโรคหอบหืด
   โดยปกติผู้ป่วยที่มีอาการแสบหน้าอก และหรือเรอเปรี้ยว (ทั้งนี้ไม่ควรมีอาการ ที่บ่งบอกว่าน่าจะเป็นโรคอื่น อาทิ น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็น เลือดหรือมีไข้) แพทย์สามารถวินิจฉัย ได้ว่าผู้ป่วยมีภาวะกรดไหลย้อนและให้ การรักษาเบื้องต้นได้เลย โดยจะติดตาม ดูอาการของผู้ป่วย ในบางรายอาจมี ความจำเป็นต้องได้รับการตรวจพิเศษ เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การกลืนแป้ง การตรวจวัดการบีบตัว ของหลอดอาหาร และการตรวจวัด ความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร ซึ่ง พบว่าได้ผลแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน

 

จะปฏิบัติตัวอย่างไร  ถ้าเป็นโรคกรดไหลย้อน
การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบ สามารถลด ความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่สามารถรักษาให้ผู้ป่วยหายขาด จากโรคได้ แต่ข้อแนะนำนี้จะช่วยทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
  - หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ อาหารรสเผ็ด อาหารที่มีไขมันสูง และอาหารทอด
  - ไม่ดื่ม เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  - เลิกสูบบุหรี่ 
  - ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่รัดบริเวณหน้าท้องและ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากควรลดน้ำหนัก
  - ไม่ควรรับประทานอาหารแต่ละมื้อมากเกินไป
  - ไม่ควรรับประทานอาหารก่อนนอน 2-3 ชั่วโมง

 

ถ้ามีอาการควรมาปรึกษาแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารเพื่อตรวจ

ขอบคุณข้อมูลจาก :  https://www.nakornthon.com/ 
                        https://www.nonthavej.co.th/ 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้