พฤติกรรมการขับขี่ส่งผลต่อ “เบี้ยประกันรถยนต์” อย่างไร?

Last updated: 13 ธ.ค. 2566  |  310 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พฤติกรรมการขับขี่ส่งผลต่อ “เบี้ยประกันรถยนต์” อย่างไร?

 

ประกันรถยนต์ ไม่ให้ความคุ้มครอง กรณี “ ทำผิดกฎหมายจราจร ” เรื่องใดบ้าง?

  • เมาแล้วขับ
  • ขนของผิดกฎหมาย
  • ไม่มีใบอนุญาตขับขี่
  • ดัดแปลงสภาพรถเพื่อเอาไปใช้ในการแข่งความเร็ว

 

 

พฤติกรรมการขับขี่ที่อาจส่งผลต่อ “ เบี้ยประกันรถยนต์ ”

     การทำผิดกฎจราจรจริง ๆ ไม่มีผลต่อค่าเบี้ยประกันรถยนต์โดนตรงแต่จะมีผลในทางอ้อม หากมีประวัติ
การเคลมหรือประวัติการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่บท้องถนนจนต้องเคลมซ่อม จะส่งผลต่อค่าเบี้ยประกัน มีผล
กระทบต่อค่าเบี้ยทำให้มีราคาสูงกว่าคนที่ไม่มีประวัติการเคลมใด ๆ หรือไม่เคยมีอุบัติเหตุมาก่อน

 

  1. ขับช้าแช่ขวา 
หลายคนอาจคิดว่าการขับแช่ขวานั้นไม่เป็นไร เพราะใช้ความเร็วตามที่กฎหมายกำหนด แต่ความจริงแล้ว เลนขวามีไว้สำหรับแซง และเมื่อมีรถที่เร็วกว่าขับมาก็ต้องหลบซ้ายเท่าที่จะทำได้ การขับรถแช่ขวา มีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท (*พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 34 และมาตรา 35)

    2. ขับรถจี้ท้ายคันหน้า
เป็นพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุสูง เพราะระยะเบรกไม่เพียงพอ ซึ่ง พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 40 ระบุไว้ว่า ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าพอสมควร ในระยะที่จะหยุดรถได้โดยปลอดภัย เมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ

    3. ขับรถคร่อมเลน หรือทับเส้นแนวแบ่งช่องเดินรถ 
ขับรถคร่อมเลน หรือทับเส้นแนวแบ่งช่องเดินรถ (เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ) ถือว่ามีความผิด มีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท (*พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(6) , 157)

    4. ขับหรือจอดรถยนต์/รถจักรยานยนต์ บนทางเท้า 
กรุงเทพมหานคร มีนโยบายปรับผู้ฝ่าฝืนตาม พ.ร.บ. รักษาความสะอาด พ.ศ. 2535 กำหนดโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเจ้าหน้าที่เทศกิจสามารถตรวจสอบและจับได้ในทันที

    5. เปิดไฟตัดหมอก โดยไม่จำเป็น
การเปิดไฟตัดหมอกโดยไม่มีเหตุอันควร มีโทษปรับสูงสุด 500 บาท 

โดยสถานการณ์เปิดใช้ไฟตัดหมอกแล้วไม่ผิดกฎหมายนั้น ได้แก่

– ฝนตกหนัก สามารถเปิดได้ เพราะจะช่วยเพิ่มวิสัยทัศน์ในการมองเห็น

– หมอกหนา วิสัยการขับขี่ไม่ดี สามารถเปิดได้

– ขับผ่านกลุ่มควัน จนไม่สามารถมองเห็นทางข้างหน้าในระยะ 50 เมตร สามารถเปิดได้

    6. ดัดแปลงไฟหน้า-ไฟท้ายรถ
การดัดแปลงไฟหน้า-ไฟท้ายให้เป็นแสงสีฟ้าหรือสีอื่น หรือทำให้มีความสว่างจ้าสะท้อนเข้ากระจก ส่องเข้าตาผู้ขับขี่ที่ขับสวนทางมา ทำให้สายตาพร่ามัว ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้ มีความผิดตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 ฐานใช้รถที่มีอุปกรณ์ส่วนควบไม่ถูกต้องตามที่กำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนรถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะมีความผิดตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ฐานเพิ่มเติมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

    7. เปลี่ยนเลนไม่เปิดไฟเลี้ยว หรือเปิดไฟเลี้ยวแล้วเลี้ยวทันที 
เป็นพฤติกรรมที่พบเจอได้บ่อยครั้ง หากเกิดอุบัติเหตุและพิสูจน์ได้ว่าไม่เปิดไฟเลี้ยวอย่างถูกต้อง สามารถตกเป็นฝ่ายผิดได้ ดังนั้น จึงควรเปิดไฟเลี้ยวก่อนที่จะเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร เพื่อลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัยทั้งตัวคุณและเพื่อนร่วมทาง

    8. เปิดเลนเอง หรือขับรถบนไหล่ทาง 
การถือวิสาสะเปิดช่องทางจราจรเองนั้นผิดกฎหมาย (*พ.ร.บ. จราจรทางบก มาตรา 103 ไหล่ทางไม่ได้เป็นช่องทางที่ใช้เดินรถ) เพราะไหล่ทางเป็นช่องทางสำหรับรถฉุกเฉิน เช่น รถพยาบาล รถตำรวจ เพื่อใช้ปฏิบัติงานเหตุฉุกเฉิน หรือรถที่จอดเสียชั่วคราวเท่านั้น 

    9. ปาดหน้าแซงคิว ขอแทรกเข้าคอสะพาน
เป็นพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ และก่อให้เกิดปัญหารถติดหนักกว่าเดิม
ซึ่งการแซงในเส้นทึบ มีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท

 

สนใจทำประกันนึกถึง MNR Insurance Broker
ยินดีให้คำปรึกษาบริการ ช่องทางไลน์ @mnrinsurancebroke หรือ โทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 085-052-4444 

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :

www.eyefleet.co

www.mrkumka.com

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้