งีบหลับกี่นาที ให้มีประสิทธิภาพ

Last updated: 15 ก.ย. 2565  |  260 จำนวนผู้เข้าชม  | 

งีบหลับกี่นาที ให้มีประสิทธิภาพ

   การนอนงีบ คือ การนอนหลับในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพื่อชดเชยเวลานอนไม่เพียงพอ โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้น เมื่อคุณรู้สึกง่วงระหว่างเวลาตื่น และการนอนงีบจะช่วยเพิ่มพลังให้กับสมอง และระบบภายในร่างกายของเรา ก็จะกลับมาเป็นปกติ ถึงแม้การนอนงีบจะอยู่ในช่วงเวลาระยะเวลาสั้น แต่ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณได้มากเลยทีเดียว

   โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการนอน ได้เปิดเผยว่า ช่วงระยะเวลาของการนอนหลับ จะมีผลต่อสุขภาพ ทั้งด้านสมองและร่างกาย สามารถทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดความตึงเครียด ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส นอกจากนี้ระบบร่างกายของคุณก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งบางคนอาจจะงีบหลับเพียงแค่ไม่กี่นาทีเท่านั้น แต่สำหรับบางคนก็อาจจะนอนหลับลึกหลายนาทีเลยก็ได้ หรือเรียกอีกอย่างว่า “หลับลึก” โดยระยะเวลาของการนอนงีบในแต่ละช่วง จะมีผลต่อร่างกายที่ต่างกันอีกด้วย

ประเภทของการนอนงีบ

   Planned napping เป็นการนอนงีบก่อนที่จะเข้าสู่การนอนหลับจริงๆ โดยการก่อนเข้านอนจะช้าหรือเร็วนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกลไกของสมอง และความเหนื่อยล้าของร่างกาย

   Emergency napping หากร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้ามาก เราจะรู้สึกง่วงเพลียและหมดสติไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งการนอนงีบประเภทนี้ไม่ใช่การหลับเพื่อสุขภาพที่ดี เเต่เกิดขึ้นจากร่างกายอ่อนล้า และเหน็ดเหนื่อยจากการใช้พลังงานมากเกินไป

   Habitual napping เป็นพฤติกรรมที่ปฏิบัติสม่ำเสมอของการนอนงีบของแต่ละคนในแต่ละวัน โดยจะมีช่วงเวลาเดียวกัน สำหรับวัยเด็กจะใช้เวลาในการนอนงีบประมาณช่วงบ่าย ส่วนวัยผู้ใหญ่มักจะใช้เวลานอนงีบช่วงสั้น ๆ หลังมื้ออาหารในแต่ละวัน

ช่วงระยะเวลาของการนอนงีบ

  • 10 - 20 นาที
       เป็นระยะเวลานอนที่ช่วยเพิ่มพลังงาน และสร้างความสดชื่นให้กับร่างกาย เพราะเพียงแค่เวลา 10 - 20 นาที จะทำให้การนอนของเราอยู่ในช่วง non-rapid eye movement (NREM)
    การนอนในช่วงระยะเวลานี้ จะเหมาะกับคนที่ต้องการตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกกระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง สมองปลอดโปร่ง หรือสามารถตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมได้หลายอย่าง โดยไม่ค่อยเกิดอาการมึนงง เช่น การนอนงีบเมื่อรอเวลาออกเดินทาง หรือรอใครสักคน เป็นต้น หากคุณตื่นขึ้นมาแล้ว ก็จะสามารถทำกิจกรรมนั้นต่อเนื่องได้ทันที จึงเรียกการนอนงีบในช่วงเวลานี้ กันว่า “Power nap” เป็นพลังของการนอนงีบ ที่ช่วยฟื้นฟูความอ่อนล้าให้กับร่างกาย

  • 30 นาที
       การนอนช่วงระยะเวลาครึ่งชั่วโมง มักจะส่งผลไม่ค่อยดีต่อระบบร่างกาย ซึ่งนักวิจัยหลายท่านระบุไว้ว่า หากเรานอนในช่วงระยะเวลานี้ หลังจากตื่นขึ้นมาแล้ว จะมีอาการมึนงง ร่างกายยังคงง่วงอยู่ หรือบางคนอาจจะรู้สึกปวดหัวเล็กน้อยด้วย เพียงแค่เพิ่มขึ้นมา 10 นาทีเท่านั้น ก็เห็นผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

  • 60 นาที
       หากคุณเลือกนอนงีบสักประมาณ 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง จะช่วยส่งผลต่อระบบความจำของคุณหลังจากตื่นขึ้นมา ทำให้สามารถจดจำแหล่งข้อมูลต่างๆได้ดีขึ้น การนอนด้วยเวลาเท่านี้จะทำให้สมองอยู่ในขั้น “slow-wave sleep” ก็คือ การหลับลึกในระดับนึง จนปล่อยให้เวลาผ่านไปประมาณ 30 นาที อาการเหล่านั้นจึงจะหายไป จึงเหมาะสำหรับคนที่ทำงานหนัก หรืออ่านหนังสือสอบจนร่างกายอ่อนเพลีย

  • 90 นาที
       ช่วงนี้เป็นระยะเวลาการนอนที่สมองและร่างกายได้พักผ่อนอย่างสมบูรณ์แบบ จึงทำให้เริ่มเข้าสู่ความฝัน สร้างความคิดและจินตานาการอย่างเต็มที่ หรืออยู่ในช่วง REM stage (Rapid Eye movement) จะช่วยทำให้สมองของเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ หลังจากคุณตื่นขึ้นมาแล้วจะอารมณ์ดี และมีความทรงจำแม่นยำขึ้น การนอนในช่วงนี้เท่านั้น จะช่วยทำให้คุณรู้สึกไม่ง่วงซึมหลังจากตื่นนอน

   
   การนอนหลับ เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อระบบภายในร่างกาย ซึ่งภาวะของการอดนอน หรือนอนหลับไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเกิดโรคร้ายแรงตามมาภายหลังได้ เราจึงต้องมีการนอนงีบระหว่างวันในช่วงระยะเวลาที่พอเหมาะ จะสามารถช่วยเพิ่มอารมณ์ ความตื่นตัว และประสิทธิภาพของการทำงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการนอนงีบจึงเป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และมีการหลั่งของฮอร์โมนที่เร่งการเติบโต สามารถสร้างความรู้สึกตื่นตัว และเพิ่มความจำของสมองมากขึ้น เมื่อเทียบกับการไม่ได้นอนงีบเลย

เคล็ดลับการนอนงีบที่ดีที่สุด

   การนอนงีบในตอนกลางวันถึงแม้จะเพียงแค่ 10-20 นาที ก็สามารถช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นได้มากขึ้นเลยทีเดียว เพราะช่วงเวลานี้ จะช่วยทำให้ร่างกายของคุณกลับเข้าสูโหมดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการทำงานของระบบสมอง ความคิดสร้างสรรค์ และประโยชน์ด้านอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้น เราจึงมีเคล็ดลับของการนอนงีบที่ดี ที่จะช่วยทำให้การพักผ่อนของคุณเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น

  1. การวิเคราะห์ตารางการนอนของคุณ
       ก่อนที่คุณจะเลือกช่วงเวลานอนงีบ คุณควรจะวิเคราะห์ตารางการนอนของคุณก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการงีบหลับขึ้นอยู่กับว่าคุณตื่นขึ้นมาเมื่อใด ตัวอย่าง เช่น สำหรับคนที่ตื่นตอนพระอาทิตย์ขึ้นเวลาสักประมาณตีห้า ควรจะงีบตอนบ่ายโมง ขณะที่คนที่ตื่นตอนเก้าโมงเช้า ไม่ควรจะงีบหลับจนกว่าจะถึงบ่ายสามโมง หากคุณศึกษาช่วงเวลาการนอนแล้ว ก็จะทำให้คุณได้ช่วงเวลาสำหรับการนอนงีบที่ดีที่สุด

  2. การเลือกช่วงกลางวัน
       หากคุณรู้สึกเหนื่อยล้า หรืออ่อนเพลีย สามารถเลือกนอนงีบในช่วงสั้นๆตอนกลางวันได้ จะเป็นการดีต่อระบบสมองและร่างกายของคุณ อีกทั้งยังทำให้คุณไม่รู้สึกง่วงในช่วงตอนบ่ายอีกด้วย เช่นเดียวกับการดื่มกาแฟ ที่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวมากยิ่งขึ้น

  3. นอนหลับให้เพียงพอ
       การอดนอนตลอดทั้งคืนไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อร่างกายของคุณ ถ้าหากคุณกำลังอยู่ในภาวะที่กำลังอดนอน การนอนงีบหลับอาจจะทางเลือกที่ดีให้กับคุณได้ จากการวิจัยพบว่าการนอนงีบหลับยาว ประมาณชั่วโมงหรือมากกว่านั้น จะสามารถช่วยทำให้คุณรู้สึกมีชีวิตชีวาได้ถึง 24 ชั่วโมง นอกจากนี้การนอนงีบยังช่วยลดผลกระทบจากการอดนอนได้ดีอีกด้วย

  4. ความปลอดภัยเป็นอันดับแรก
       หากคุณนอนหลับตอนกลางคืนเพียงแค่ 6 – 7 ชั่วโมง ก็สามารถทำให้คุณร่างกายของคุณอ่อนเพลีย และเกิดความง่วงได้ เมื่อเทียบกับคนที่นอน 8 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามการงีบหลับสัก 10-20 นาที จะช่วยทำให้คุณรู้สึกสดชื่นได้มากยิ่งขึ้น และช่วยป้องกันการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก หรือวัยรุ่นจะงีบหลับได้อย่างรวดเร็ว

  5. การทำงานช่วงกลางคืน
       คนที่มีการทำงานเป็นกะ คือ ไม่ได้ทำงานแบบคนทั่วไปที่เข้างาน 9 โมงเช้า เลิกงาน 5 โมงเย็น นั้นสามารถได้ประโยชน์จากการงีบหลับได้ด้วย การศึกษาที่เกี่ยวกับคนทำงานกลางคืนพบว่า การงีบหลับในตอนเย็นจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด จะทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวแทนการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มจำพวกคาเฟอีนได้ดีเช่นกัน

  6. เวลาที่เหมาะสม
       จากการศึกษาและทดสอบจากนักวิจัยหลายท่าน เราควรเลือกใช้ช่วงเวลาของการนอนงีบในระหว่าง 10-20 นาที จะเป็นเวลาที่ดีที่สุด หากการนอนหลับนานเกินไปจะทำให้เกิดผลกระทบได้ คือ จะทำให้รู้สึกไม่ชีวิตชีวาหรือจะอยู่ในอาการมึนงง และมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง การเลือกใช้ช่วงเวลาที่เหมาะสมก็มีผลต่อระบบร่างกายและสมองของคุณได้

  7. การตั้งปลุก
       การตั้งนาฬิกาปลุกมีประโยชน์มากสำหรับการนอนงีบ หากคุณกังวลว่าตัวเองจะตื่นขึ้นมาตอนไหน และช่วงเวลาประมาณไหนตื่นแล้วจะรู้สึกสดชื่น ดังนั้น การตั้งนาฬิกาปลุกจะช่วยลดความกดดันเรื่องนี้ลง และทำให้การนอนของคุณเป็นไปอย่างลงตัว

  8. ไม่ควรอดนอน
       ถึงแม้การนอนงีบ จะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนอดนอน แต่หากคุณเลือกใช้วิธีงีบหลับ และต้องมาอดนอน มันไม่ใช่ทางออกที่ดีสำหรับคุณ จะส่งผลเสียต่อระบบร่างกายของคุณอีกด้วย ดังนั้น เราควรจะนอนหลับให้เพียงพอในแต่ละวัน ไม่อดนอนในตอนกลางคืน และควรนอนให้ตรวต่อเวลาทุกคืน ก็จะช่วยให้คุณได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ

  9. การนั่งสมาธิ
       การนั่งสมาธิ จะช่วยฝึกให้ร่างกายและจิตใจของคุณสงบลง เกิดความรู้สึกตัวหรือมีสติในการใช้ชีวิต สามารถลดความเครียด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานได้ดีมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยบรรเทาโรคต่างๆได้ดีอีกด้วย เช่น โรคซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเครียด เป็นต้น การฝึกวิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้ปรับเข้าสู่สภาวะของการพักผ่อนอย่างเต็มที่

  10. การหาที่นอนที่ดี
       การเลือกที่นอนที่ดี จะช่วยทำให้คุณได้นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่ และตื่นเช้าขึ้นมาพร้อมกับความสดชื่นในแต่ละวัน สามารถรองรับสรีระร่างกาย และช่วยลดอาการปวดเมื่อยขณะนอนงีบหรือนอนหลับของคุณ ซึ่งระบบโครงสร้างของที่นอน ควรโอบรับความโค้งเว้าของร่างกายคุณได้อย่างพอดี สิ่งเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อของเราผ่อนคลาย หลับได้สบายยิ่งขึ้น เพื่อสุขภาพการนอนที่ดีของคุณในระยะยาว

ขอบคุณข้อมูลจาก : mattresscity

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้