Last updated: 7 มี.ค. 2566 | 717 จำนวนผู้เข้าชม |
POLAR VERTEX คืออะไร
โพลาร์ วอร์เท็กซ์ หรือลมวนขั้วโลกนั้น เป็นกระแสลมที่มีความรุนแรงหมุนทวนเข็มนาฬิกาวนรอบเหนืออาร์กติกราว 50 กิโลเมตร และมีบทบาทในการเก็บรักษาลมเย็นไว้ที่ภูมิภาคอาร์กติก และไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้ามา กระแสลมนี้ไม่ใช่พายุแต่อย่างไร เป็นเสมือนอาณาเขตกั้นระหว่างอากาศเย็นเยือกแข็งของอาร์กติกและอากาศอุ่นรอบแลติจูดกลางไม่ให้เล็ดลอดไปหากัน นั่นคือสภาพปกติของโพลาร์ วอร์เท็กซ์ แต่หากมีอะไรทำให้สมดุลของระบบกระแสลมนี้เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการลดความแข็งแกร่งของกระแสลม เปลี่ยนทิศทางลม หรือทำให้กระแสลมแตกเป็นหลายสาย จะทำให้อุณหภูมิของภูมิภาคอาร์กติกสูงขึ้น ขณะที่พื้นที่อื่นของโลกได้รับอิทธิพลจากโพลาร์ วอร์เท็กซ์ที่แปรปรวน ก็คือมีอุณหภูมิต่ำลง
ผลกระทบทั่วโลกเมื่อPOLARVERTEX แปรปวน
อาร์คติกอุณหภูมิเพิ่มขึ้นสูงน้ำแข็งทั่วโลกละลาย หลายประเทศเผชิญอากาศหนาวเย็นอย่างรวดเร็ว เช่นใน สหรัฐอเมริกา รัสเซีย มองโกเลีย ญี่ปุ่น ยุโรปไปจนถึงคาบสมุทรเมดิเตอร์เรเนียน
ผลกระทบต่อประเทศไทย
แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจาก Polar vertex โดยตรง แต่ผลพวงจากภาวะโลกร้อน ทำให้ในปี 2566 ไทยต้องเผชิญกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่จะทำให้แล้งหนักมากโดยอากาศจะร้อนขึ้น 1.08 - 1.32 องศา
ปรากฏการณ์ลานีญา หรือสภาวะที่ฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ กำลังจะลดลงในช่วง เดือน ก.พ.-เม.ย.2566 นี้เป็นต้นไป แต่สำหรับปรากฏการณ์ เอลนีโญ คาดว่าจะกลับมารุนแรงอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ การเตรียมพร้อมรับมือกับความร้อนและภัยแล้งในปี 2566 จะต้องรับมืออย่างไรบ้าง
หลังจากปรากฏการณ์ลานีญา ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยและสภาพอากาศทั่วโลกมานานถึง 3 ปี ในปีนี้ปรากฏการณ์ลานีญา ก็จะเริ่มอ่อนกำลังลง และจะพลิกกลับมาเป็นสู่ปรากฎการณ์เอลนีโญอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้สภาพอากาศแห้งแล้ง และหากปีนี้ฝนน้อย ก็เป็นไปได้ที่ประเทศไทย จะต้องพบเจอกับภัยแล้งที่นาน และความร้อนที่มากกว่าปกติ
จากการคาดการณ์ของ รศ.ดร. วิษณุ อรรถวานิช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกษตร ระบุว่า คาดว่า ปี 2566 สถานการณ์ภัยแล้งจะรุนแรงมากขึ้น และอากาศจะร้อนขึ้นกว่า 2 ปีที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าหลังจากเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป อุณหภูมิจะเริ่มร้อนขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยปกติ และ ถือเป็นปีที่ 8 ติดต่อกันที่โลกร้อนกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย
ทั้งนี้เสนอให้ปรับปรุงการรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะกับภาคการเกษตร ที่จะต้องบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอกับฤดูแล้ง รวมถึงการเลือกพืชที่เหมาะสมกับการใช้น้ำ ที่อาจจะต้องทนแล้งและทนความร้อนได้มากขึ้น ซึ่งในระดับประเทศนั้น จำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาสายพันธุ์ข้าว หรือสายพันธุ์ของพืชต่าง ๆ เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลง และ แปรปรวนของโลก
ทั้งนี้คาดว่า ปรากฏการณ์ลานีญา จะลดกำลัง ลงในช่วง ก.พ.-เม.ย.2566 ก่อนที่ปรากฏการณ์เอลนีโญ จะค่อย ๆ เพิ่มกำลังกลับมาอีกครั้งในช่วงปลายปี 2566 ซึ่งจะทำให้ช่วง ก.ค.-ก.ย.66 ประเทศไทยจะพบเจอกับภัยแล้ง และอากาศร้อนกว่าปกติ โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 4 ของปี 66 เป็นต้นไป
แนวทางการรับมือ
1.พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง
2. ระวังไฟป่า ควรสำรองน้ำไว้ใช้ยามจำเป็นเกษตรกร
3.ระวังผลผลิตเสียหายจากฝนขาดช่วง
4.เกษตรกรแนะนำปลูกพืชที่มีอายุสั้น ใช้น้ำน้อยเช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพด ทานตะวัน ต้นหอม กระเทียม ฯลฯ
ประกันภัยบ้านKPI
คุ้มครองเหตุ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า พายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว รับประกันครอบคลุมทั้งบ้านไม้และบ้านปูน !
เบี้ยเพียงแค่ 645 บาทเท่านั้น!!
สนใจทำประกันนึกถึง MNR Insurance Broker
คลิก https://lin.ee/W9jGnNC หรือ
โทร 085-052-4444
ขอขอบคุณข้อมูลจาก :
www.greenpeace.org
www.tnnthailand.com
www.noaa.gov
19 ต.ค. 2567
30 พ.ย. 2567
8 พ.ย. 2567