Last updated: 18 ม.ค. 2568 | 266 จำนวนผู้เข้าชม |
ส่วนใหญ่แล้วเวลาเราคิดถึงวิธีการกำจัดขยะ เรามักจะคิดถึง ขยะพลาสติก เป็นอย่างแรกๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วขยะมูลฝอยประเภทสารอินทรีย์ เช่น เศษอาหาร เศษผัก เศษผลไม้ เป็นขยะที่มีปริมาณมากที่สุด คิดเป็นอัตราส่วนถึง 64% เป็นขยะที่มีกันทุกครัวเรือน เพิ่มปริมาณขึ้นทุกวัน ถึงแม้ว่าขยะประเภทนี้จะสามารถย่อยสลายได้ด้วยตัวเอง ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็จำเป็นต้องใช้เวลา และอาจทำให้สภาพแวดล้อมรอบบ้านของคุณเต็มไปด้วยกลิ่นไม่พึงประสงค์ ยังไม่นับปัญหาจากสัตว์และแมลง สิ่งสกปรกต่างๆ ที่จะตามมาพร้อมพาหะของโรคมากมาย มาเปลี่ยนเศษอาหารเหลือใช้ให้กลายเป็นปุ๋ยคุณภาพ ต่อยอดประโยชน์จากขยะ เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และสิ่งแวดล้อมดีๆ ที่คุณสามารถสร้างได้ด้วยมือคุณเอง
ขยะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ มีอะไรบ้าง?
ขยะเปียก ขยะเศษอาหาร หรือขยะในครัวเรือนที่เหมาะกับการนำมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ ควรเป็นขยะประเภทสารอินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายง่าย หรือหากเป็นเศษอาหารในชีวิตประจำวัน ก็ควรเป็นอาหารประเภทที่ไม่มีแกนแข็ง เนื้อไม่หยาบ และมีเปลือกหุ้มที่ไม่หนาจนเกินไป เพื่อให้จุลินทรีย์และแบคทีเรียสามารถย่อยสลายออกมาเป็นปุ๋ยได้ง่ายๆ
ตัวอย่างเศษขยะที่สามารถนำมาแปรรูป
• ปลา เนื้อสัตว์
• กระดูก เปลือก และกระดองของสัตว์
• ผัก ผลไม้ เมล็ดผลไม้
• เศษอาหารสด เศษเปลือกไข่
• กากกาแฟ รวมถึงมูลสัตว์
ตัวอย่างเศษขยะที่ไม่ควรนำมาแปรรูป
• กิ่งไม้ ใบไม้
• กระดาษ เศษผ้าต่างๆ
• โลหะ พลาสติก หรือกระจก
• น้ำมัน ยาฆ่าเชื้อ สารฟอกขาว
• ผักที่หยาบหรือแข็ง เช่น แกนข้าวโพด
วิธีกำจัดขยะเศษอาหาร เปลี่ยนขยะให้เกิดประโยชน์ปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยที่มีวิธีการทำไม่ยุ่งยาก สามารถทำได้หลากหลายวิธี และทำได้ทุกครัวเรือน โดยหลักการหลักๆ ของการหมัก ก็คือการใช้ประโยชน์จากกลุ่มจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ภายในดินที่มีอยู่เดิม มาทำหน้าที่ย่อยสลายขยะมูลฝอยประเภทอินทรีย์ หรือเศษอาหารภายในถังหรือภาชนะสำหรับหมักโดยภาชนะสำหรับการทำปุ๋ยหมักมีหลากหลายตามความถนัดของแต่ละบ้าน อาทิ
ถังย่อยเศษอาหาร หรือ ถังพลาสติก เป็นถังที่ถูกสร้างมาเพื่อทำหน้าที่ย่อยเศษอาหารเหลือทิ้ง ให้กลายเป็นปุ๋ยเพื่อนำไปใช้งานต่อ โดยตัวถังมีการเจาะรูระบาย หรือเจาะรูก้นถังเพื่อฝังลงไปในดินและเติมน้ำหมัก EM ลงไป โดยหลักการหมัก จะเป็นการหมักโดยกระบวนการของจุลินทรีย์แบบใช้ก๊าซออกซิเจนซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นน้อยมากเมื่อเทียบกับการหมักแบบอื่นๆ ดังนั้น ก๊าซออกซิเจนจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับถังย่อยเศษอาหาร โดยการออกแบบถังจะมุ่งเน้นให้เกิดการหมุนเวียนถ่ายเทของอากาศ เพื่อให้ก๊าซออกซิเจนเดินทางเข้าสู่ถังหมักได้อย่างทั่วถึง และทำให้การย่อยเศษอาหารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อีกหนึ่งแหล่งกำเนิดพลังงานกระบวนย่อยสลายที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าก๊าซออกซิเจน คือแสงอาทิตย์ โดยตัวถังย่อยเศษอาหาร เป็นถังที่สามารถเก็บความร้อนได้ดี ช่วยในการหมุนเวียนของอากาศภายในถัง และยังช่วยให้จุลินทรีย์ในถังเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และเพื่อไม่ให้เศษอาหารในถังส่งกลิ่นรบกวนการอยู่อาศัย ถังประเภทนี้จึงมีฝาปิดเพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นไม่พึงประสงค์หลุดรอดออกมา เพราะนอกจากจะเป็นการป้องกันกลิ่นรบกวนแล้ว ยังช่วยป้องกันหนู แมลงวัน หรือสัตว์มาคุ้ยอาหารในถังอีกด้วย
เป็นอีกหนึ่งวิธีการกำจัดขยะจากเศษอาหาร หรือขยะอินทรีย์ที่ได้รับความนิยม ด้วยราคาที่ค่อนข้างถูก สามารถหาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาด และมีวิธีการหมักย่อยเศษอาหารคล้ายคลึงกับถังย่อยเศษอาหาร
โดยวิธีการทำหลุมขยะเปียก สามารถทำได้โดยการ
1. เตรียมภาชนะที่จะนำมาทำเป็นหลุมขยะเปียก ได้แก่ถังและตะกร้าพลาสติกทั่วๆ ไปที่หาได้ตามท้องตลาด สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม
2. คว่ำถังพลาสติกลงในตะกร้า โดยให้มีความลึกลงไปจากปากตะกร้าประมาณ 5 -10 เซนติเมตร โดยจะต้องเหลือช่องของตะกร้าขึ้นมาจากปากถังที่คว่ำลงไป ประมาณ 2 ช่อง จากนั้นทำการตัดก้นถังพลาสติกออก
3. คว่ำถังพลาสติกขนาดใหญ่ลงบนปากตะกร้าให้พอดี จากนั้นนำเชือกมาผูกมัดให้ติดกัน ตัดก้นถังใบใหญ่ออกและส่วนที่ตัดออกนำมาทำเป็นฝาปิด
กรรมวิธีการย่อยเศษอาหารจะเป็นการใช้จุลินทรีย์และแบคทีเรียในดินในการย่อยสลาย เช่นเดียวกับถังย่อยเศษอาหาร เน้นความสะดวกในการหมุนเวียนถ่ายเทของอากาศ เพื่อให้การย่อยสลายเศษอาหารมาทำปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
21 ธ.ค. 2567