รีบเช็คก่อนเกิดเหตุอันตรายในหน้าฝน

Last updated: 30 ก.ย. 2566  |  239 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รีบเช็คก่อนเกิดเหตุอันตรายในหน้าฝน

เข้าสู่ในฤดูฝนนี้ ขับรถไปไหนก็ต้องระวังมากขึ้น เพราะถนนลื่นมักเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และเหตุที่เกิดอาจจะอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ ดังนั้นผู้ขับขี่จะต้องเช็กสภาพเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอ

        เมื่อถึงหน้าฝน รถยนต์ ต้องพร้อม และ 6 อุปกรณ์เหล่านี้ควรต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานเพื่อความปลอดภัยไร้กังวลในการขับขี่รถช่วงฤดูฝน ซึ่งบางอย่างอาจเกิดการเสื่อมสภาพตามการใช้งาน สภาพแวดล้อม แต่อาจไม่แสดงอาการเมื่อขับรถในสภาพแวดล้อมปกติ ซึ่งต่างจากหน้าฝน จนอาจทำให้ผู้ขับขี่หลงลืม หรือละเลยในการดูแล ซ่อมบำรุง ส่วนจะมีอะไรบ้างที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษไปเช็กกันได้เลย

1.  ใบปัดน้ำฝน

เป็นไอเทมที่สำคัญที่สุดในช่วงหน้าฝน เพราะที่ปัดน้ำฝันจะช่วยปัดเอาน้ำโคลนหรือน้ำฝนออกจากกระจกหน้ารถ ทำให้เราสามารถมองเห็นเส้นทางได้ง่ายขึ้น  

วิธีเช็กที่ปัดน้ำฝนและการดูแลรักษา ให้ทำตามนี้ 
     + ยางปัดน้ำฝน เปลี่ยนทุก 1 ปี 
     + ได้ยินเสียงดังเอี๊ยด ๆ สัญญาณเตือนให้เปลี่ยนยางปัดน้ำฝนใหม่ 
     + ปัดเเล้วเป็นคราบ ไม่สะอาด แสดงว่ายางเสื่อมสภาพแล้วควรเปลี่ยนใหม่ทันที

 


2.  ที่ฉีดน้ำล้างกระจก

         ตรวจเช็กกันหน่อยว่า ระดับน้ำฉีดกระจกรถยนต์ในหม้อพักอยู่ในระดับที่เหมาะสม มอเตอร์ทำงานหรือไม่ ฉีดน้ำยังฉีดแรงเหมือนเดิมหรือเปล่า ซึ่งในกรณีฉีดน้ำล้างกระจกแล้ว น้ำที่ถูกฉีดออกไม่ได้เต็มที่ อาจเกิดจากคราบตะกรัน หรือเศษผงอะไรไปขวางให้น้ำเดินไม่สะดวก ลองใช้เข็มจิ้มที่รูฉีดน้ำที่พบปัญหาเพื่อให้ทำงานได้เป็นปกติขึ้น หรือถ้าหากน้ำในถังพักพร่องควรเติมให้อยู่ในระดับเต็มอยู่เสมอ แต่ถ้ามอเตอร์ฉีดน้ำไม่ทำงาน ทั้งที่น้ำในถังยังเต็ม คงต้องรีบนำรถเข้าอู่ หรือศูนย์บริการช่วยตรวจสอบโดยเร็ว 

 


3.  ผ้าเบรก และน้ำมันเบรก

ปัญหาที่พบบ่อยในฤดูฝนก็คือ น้ำท่วม ต้องขับรถลุยน้ำอาจทำให้เราควบคุมรถได้ยาก และส่งผลเรื่องของระบบเบรกเนื่องจากแช่น้ำนานจะทำให้เสื่อมสภาพ เราต้องหมั่นเช็กบ่อย ๆ ทั้งผ้าเบรก น้ำมันเบรกเพื่อความปลอดภัยขณะขับขี่ 

     + เบรกแล้วผ้าเบรกมีเสียงดังผิดปกติ เราควรเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่
     + เบรกไม่อยู่ หรือเบรกแล้วใช้ระยะหยุดรถที่มากกว่าปกติ 
     + เช็กระดับน้ำมันเบรก ควรอยู่ระหว่าง MIN กับ MAX 
     + เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรกทุกๆ 25,000 กิโลเมตร หรือ ตามคู่มือประจำรถ 

 

 


4.  ระบบไฟ ส่องสว่าง

   ไฟเลี้ยว, ไฟหน้า, ไฟสูง, ไฟเบรก เพราะช่วงหน้าฝน ฝนตกทัศนวิสัยการขับขี่แย่อยู่แล้ว หากไฟเหล่านี้ไม่ติดยิ่งเพิ่มความเสี่ยงอุบัติเหตุให้มากขึ้นไปอีก ขอย้ำอันตรายมาก ๆ เรื่องไฟเบรกขาด

 


5.  ยางรถยนต์

ยางรถยนต์ เป็นอีกหนึ่งไอเท็มที่สำคัญในช่วงหน้าฝน เราต้องหมั่นเช็กยางรถยนต์บ่อยๆ เพื่อการขับขี่ให้ปลอดภัยมากขึ้น 

       + เช็คความดันลมยาง ต้องวัดค่าลมยางในระดับที่เหมาะสม แนะนำให้เช็คเดือนละครั้งหรือทุกครั้งก่อนออกเดินทาง 
       + เช็คสภาพของดอกยาง หากพบว่า ยางรถรั่ว ยางแตก หรือยางได้รับความเสียหายต้องเปลี่ยนยางใหม่ทันที 
       + การตั้งศูนย์ การตั้งศูนย์ทุกๆ ครั้งที่เอารถเข้ารับบริการที่ศูนย์ ทำให้การเดินทางของคุณปลอดภัยยิ่งขึ้น 
       + การถ่วงล้อ ป้องกันการเสื่อมของดอกยางแบบไม่เท่ากัน และช่วยยืดอายุการใช้งานของยางของคุณอีกด้วย ตั้งทุกๆ 5,000 กม. และทุกๆ 10,000 กม. 
       + จุกลมยางรถ ต้องปิดให้สนิท หากพบว่าจุกยางรั่วอย่าลืมรีบเปลี่ยนจุกยางใหม่ด้วย 
       + เปลี่ยนยางรถยนต์ เมื่อเดินทางครบ 40,000 - 50,000 กิโลเมตร หรือมีอายุการใช้งานทุกๆ 3.5 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้งานและคุณภาพของยางรถยนต์ 

 


6.  เครื่องยนต์ต้องพร้อม
       สำหรับคนใช้รถ จะทราบดีอยู่แล้วว่าการตรวจเช็คเครื่องยนต์อย่างสม่ำเสมอนั้นเป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นปกติ ไม่ควรละเลย และยิ่งหน้าฝนเราต้องตรวจเช็คให้ดีกว่าที่เคย เพราะเราขับตากฝนเป็นเวลานาน หรือบางครั้งเจอน้้ำท่วม เกิดเครื่องยนต์ไปสะดุดกลางทางนี่ลำบากและวุ่นวายมากๆ เลย อย่างน้อยๆ ควรดูว่าของเหลวต่างๆ อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมหรือไม่

 

 

ความพร้อมของรถเป็นสิ่งสำคัญที่สุดไม่ว่าจะฤดูไหน และยิ่งช่วงหน้าฝนทัศนวิสัยในการขับรถของเราจะลดลงกว่าปกติ เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถเราควรตรวจเช็คสภาพรถให้พร้อมใช้งานแล้วที่สำคัญเพื่อนๆ อย่าลืมมองหาประกันรถยนต์ ให้คุณอุ่นใจตลอดเส้นทาง ไม่ว่าคุณจะขับรถเที่ยวที่ไหน ฤดูไหนก็มั่นใจมากขึ้น หรือถ้าคุณสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับประกันรถยนต์ ประกันภัยอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ MNR Insurance broker ได้เลย เรายินดีให้คำปรึกษาลูกค้าทุกท่าน

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้