Last updated: 24 เม.ย 2567 | 319 จำนวนผู้เข้าชม |
หากพูดถึงสิ่งจำเป็นที่ผู้ใช้รถยนต์ต้องทำต่อเนื่องเป็นประจำในทุก ๆ ปี คงไม่มีใคร ไม่นึกถึง การต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และ การต่อภาษีรถยนต์ เพราะหากรถยนต์ของเรา ไม่มี พ.ร.บ.รถ และ ไม่มี ภาษีรถยนต์ ก็จะเข้าข่ายเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และมีโทษปรับได้ ทั้งนี้ ใครหลายคนอาจยังสงสัยว่า พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ภาษีรถยนต์ แตกต่างกันอย่างไร และมีความจำเป็นกับรถยนต์มากขนาดไหน โดยเฉพาะ มือใหม่หัดขับ ที่อาจจะยังไม่รู้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับกฎข้อบังคับในการใช้รถยนต์สักเท่าไรนัก วันนี้จะมาบอกถึงความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ ว่าคืออะไร และทำไมกฎหมายถึงบังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องมี
พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกัน พ.ร.บ. คือ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 โดยกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้เจ้าของรถ ที่มีชื่อในเล่มทะเบียนรถยนต์หรือผู้ครอบครองรถในกรณีเป็นผู้เช่าซื้อรถ และต้องต่ออายุในทุก ๆ ปี นอกจากเป็นประกันภาคบังคับที่ผู้ใช้รถต้องทำอยู่แล้ว พ.ร.บ.รถยนต์ ยังเป็น 1 ในหลักฐานที่จำเป็นต่อการต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปี ในกรณีที่ไม่ทำจะถือว่าทำผิดกฎหมายด้วยนะ
ใจความสำคัญของประกัน พ.ร.บ. ก็คือ ต้องการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยจากการใช้รถ โดยไม่สนใจว่าบุคคลนั้นจะเป็นฝ่ายผิด หรือถูก หากเกิดความเสียหายขึ้น ผู้เสียหายก็จะได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้
นอกจากรถยนต์ที่ต้องทำและต่ออายุประกัน พ.ร.บ.ทุกปี ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ รถบรรทุก ต่างก็ต้องทำ พ.ร.บ. ด้วยด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งอัตราเบี้ยประกันภาคบังคับ จะเป็นอัตราเบี้ยคงที่ ไม่มีการเพิ่ม แต่ราคาจะแตกต่างกันไปตามประเภทและขนาดของรถ
1. ค่าเสียหายเบื้องต้น (ได้รับโดยยังไม่ต้องพิสูจน์ความผิด)
1.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ (ตามจริง) ไม่เกิน 30,000 บาท
1.2 การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพอย่างถาวร 35,000 บาท
2. ค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติม หรือ ค่าเสียหายส่วนเกิน (ได้รับเฉพาะฝ่ายถูก)
2.1 ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาท
2.2 การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพอย่างถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาท
2.3 กรณีทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท
2.4 กรณีทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาท
2.5 สูญเสียอวัยวะ
- นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป 200,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 2 ส่วน 500,000 บาท
2.6 เงินชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน (กรณีพักฟื้นเป็นผู้ป่วยใน) สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท
สำหรับ ภาษีรถยนต์ คือ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถยนต์ทุกคันจะต้องชำระเป็นประจำทุกปี เหมือนกับเวลาที่เราต้องเสียภาษีเงินได้ หรือ เสียภาษีอื่น ๆ ซึ่ง ภาษีรถยนต์ นี้จะเป็นการจ่ายเงินเพื่อนำไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ทางภาครัฐจะนำเงินที่ได้จากภาษีรถยนต์ไปปรับปรุง พัฒนา หรือซ่อมแซมถนนหนทางและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน
โดย ภาษีรถยนต์ หรือที่ใครหลายคนเรียกกันติดปากว่า การต่อทะเบียนรถยนต์ เป็นสิ่งที่รถยนต์ทุกคันต้องทำเป็นประจำทุกปีตามที่กฎหมายกำหนด หากรถยนต์คันใด ไม่ได้ต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้า จะมีค่าปรับ 1% ต่อเดือน และยิ่งหากขาดต่อภาษีรถยนต์ นานติดต่อกัน 3 ปี จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ และต้องเสียค่าปรับในการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย
จุดประสงค์ในการต่อ
พ.ร.บ.รถยนต์ : การทำประกันภัยภาคบังคับ สำหรับคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประสบภัยจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ภาษีรถยนต์ : การต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี โดยเงินภาษีที่จ่ายไปก็จะนำไปพัฒนาระบบคมนาคมให้ดียิ่งขึ้น
โทษปรับเมื่อฝ่าฝืน
พ.ร.บ.รถยนต์ : ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
ภาษีรถยนต์ : ต่อภาษีรถยนต์ล่าช้า จะมีค่าปรับ 1% ต่อเดือน และยิ่งหากขาดต่อภาษีรถยนต์ นานติดต่อกัน 3 ปี จะทำให้ทะเบียนรถยนต์ถูกระงับ และต้องเสียค่าปรับในการชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังอีกด้วย
เอกสารที่ได้รับ
พ.ร.บ.รถยนต์ : เอกสารกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์
ภาษีรถยนต์ : ป้ายภาษี หรือที่เรียกว่าป้ายวงกลม ป้ายสี่เหลี่ยม
ในการที่จะจ่ายภาษี ต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ก่อน เพื่อนำเอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ไปต่อภาษี โดยภาษีรถยนต์ คือ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถทุกคนต้องชำระทุกปี เพื่อนำเงินไปดูแลรักษาระบบคมนาคมและภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนระยะเวลาที่ผู้ขับขี่ต้องต่อภาษี เช็กได้จากวันหมดอายุที่เขียนไว้บน "ป้ายภาษี" ที่หน้ารถได้เลย
หลังจากนี่ทุกคนก็จะแยก พ.ร.บ.รถยนต์ และ ภาษีรถยนต์ ได้แล้วหรือใครสนใจต่อหรือทำ พ.ร.บ.รถยนต์ กับทาง MNR Insurance Broker เรายินดีให้คำปรึกษาลูกค้าทุกท่าน…
โทร : 085-052-4444
Line : @mnrinsurancebroker
12 ต.ค. 2567
24 ส.ค. 2567
8 พ.ย. 2567