Last updated: 24 มิ.ย. 2567 | 480 จำนวนผู้เข้าชม |
รู้หรือไม่
ประกันรถยนต์หมดอายุกี่โมง หากประกันหมดอายุเคลมได้ไหม?
เช็ควันหมดอายุประกันรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง?
โดยมากแล้วระยะเวลาการคุ้มครองของประกันรถจะอยู่ที่ 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ซื้อประกันไป เมื่อระยะเวลาใกล้วนมาถึงคุณควรรีบต่อประกันเพื่อให้การคุ้มครองเกิดขึ้นต่อเนื่อง โดยสามารถเช็ควันหมดอายุประกันรถยนต์ได้ที่
- กรมธรรม์ประกันภัย ในช่อง “สิ้นสุดวันที่ วว/ดด/ปปปป”
- โทรเช็คกับบริษัทประกันโดยตรง
- ติดต่อโบรกเกอร์หรือตัวแทนประกัน
- สายด่วน คปภ. 1186
ประกันรถยนต์หมดอายุกี่โมง?
หลายคนเข้าใจว่า ประกันรถยนต์จะคุ้มครองถึงเที่ยงคืนในวันหมดอายุของประกัน ความจริงไม่ใช่เลย เพราะสำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ออกข้อกำหนดเอาไว้ว่า ประกันรถยนต์จะสิ้นสุดเวลา 16.30 น. ของวันครบกำหนดกรมธรรม์
สรุปคือ : รถชนก่อน 16.30 น. ในวันที่ประกันรถหมดอายุสามารถขอเคลมได้ แต่ถ้ารถชนหลัง 16.30 น. ทุกอย่างถือเป็นโมฆะ
ประกันรถยนต์ขาดได้กี่วัน?
ประกันรถยนต์ไม่สามารถขาดต่อได้ หากประกันหมดอายุความคุ้มครองก็สิ้นสุดลงทันทีโดยไม่มีข้อแม้ ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ. ระบุเกี่ยวกับวันเวลาหมดอายุความคุ้มครองเอาไว้ว่า “หากเกิดอุบัติเหตุก่อนเวลา 16.30 น. ของวันครบกำหนดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เราสามารถดำเนินการยื่นเคลมประกันได้”
ดังนั้น ประกันหมดอายุเคลมได้ไหม คำตอบคือ หากเกิดอุบัติเหตุหลังเวลา 16.30 น. จะไม่สามารถเคลมได้ คุณจะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ จากบริษัทประกันเลย และคุณจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดด้วยตัวเอง
อย่าเข้าใจผิด! ประกันรถยนต์ขาด กับ พ.ร.บ. รถยนต์ขาด ไม่เหมือนกัน
ทั้งสองอย่างเป็นประกันที่รถยนต์ทุกคันต้องมีแต่ทำหน้าที่ต่างกัน ดังนี้
พ.ร.บ.รถยนต์ คือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ ที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันและทุกประเภทต้องทำ เพราะจะได้สิทธิ์คุ้มครองขั้นพื้นฐาน ในการดูแลรักษาพยาบาล เช่น ค่ารักษาพยาบาลที่เกิดจากการบาดเจ็บ เสียชีวิต หรือเงินชดเชย หากปล่อยให้ พ.ร.บ. รถยนต์ขาด จะมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น บุคคลภายนอกหรือคู่กรณี บาดเจ็บ เสียชีวิต ทางคู่กรณีสามารถเบิกค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถได้
ประกันรถยนต์ คือ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ที่ซื้อเพิ่มเติมได้กับบริษัทประกันภัย หรือโบรกเกอร์ประกันภัย มีให้เลือกรูปแบบความ คุ้มครองที่หลากหลาย เช่น ประกันรถชั้น 1 ประกันชั้น 2+ หรือ ประกันชั้น 3+ ซึ่งเบี้ยประกันก็จะแพงหรือถูกขึ้น อยู่กับความคุ้มครองที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ หากประกันรถยนต์ขาดจะไม่ได้รับความคุ้มครองใด ๆ ทั้งสิ้น
นี่คือความแตกต่างของประกันรถยนต์ และ พ.ร.บ.รถยนต์ ซึ่งถ้าคุณกำลังคิดว่าไม่ต่อประกันรถยนต์ได้ไหม ปล่อยให้ประกันรถยนต์หมดอายุจนหมดโอกาสขอเคลมประกัน คุณก็ต้องถามตัวเองว่าพร้อมรับมือกับค่าเสียหายที่จะเกิดขึ้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ด้วยหรือไม่
“ประกันรถยนต์ขาด” จะไม่เกิดขึ้น วางแผนต่อประกันล่วงหน้า
ถ้าคุณเป็นคนขี้ลืมจริงๆ หรือมีภารกิจอะไรให้ทำอยู่ตลอดเวลาจึงลืมนึกถึงเรื่องนี้ไป การต่อประกันรถยนต์ล่วงหน้าถือเป็นทางออกที่ดีมาก เพราะนอกจากแก้ไปปัญหาเรื่องลืมต่อประกันรถยนต์ หรือประกันรถขาดไปได้แล้ว ยังช่วยวางแผนการเงินที่ดีให้กับคุณอีกด้วย เพราะคุณจะได้ไม่ต้องกุลีกุจอหาประกันรถยนต์ประเภทใหม่ หาบริษัทประกันรถยนต์บริษัทใหม่ แล้วรีบตัดสินใจซื้อแบบด่วน ๆ คุณจึงไม่มีเวลาไตร่ตรอง จนไม่ได้เปรียบเทียบความคุ้มค่าประกันให้ดี
แต่จริงๆ คุณสามารถต่อประกันรถยนต์ล่วงหน้าได้ โดยระยะเวลามากสุดคือ ต่อประกันรถยนต์ล่วงหน้า 3 เดือน และระยะเวลาน้อยสุดคือ 1 วัน เรียกได้ว่าในระยะเวลาระหว่างนี้ เมื่อไหร่ที่ว่างก็สามารถทำได้เลย
ไม่มีทางที่จะเกิดเหตุการณ์ประกันรถขาดแน่ๆ ถ้าหากเริ่มต่อประกันก่อนที่ประกันรถหมดอายุอีก 3 เดือน โดยข้อดีมาก ๆ คือ คุณจะได้มีเวลาไตร่ตรองในการเลือกบริษัทประกัน ว่าจะใช้บริการกับเจ้าไหนดี หรือเจ้าไหนมีโปรโมชั่นในการผ่อนประกันรถยนต์บ้าง คุณก็จะได้ประกันรถยนต์ที่คุ้มค่าที่สุดครับ
ประกันรถหมดอายุอีก 1 วันแล้วค่อยต่อประกันแต่อาจเป็นอะไรที่เส้นยาแดงผ่าแปดมากๆ คุณแทบจะไม่มีเวลาคิดเลยว่าประกันรถยนต์ของบริษัทประกันไหนคุ้มค่า หรือมีโปรโมชั่นดี ๆ ให้เลือกใช้ เพราะมันจวนเวลาที่จะหมดอายุสัญญาของกรมธรรม์ฉบับเก่าแล้ว แต่ข้อดีคือคุณจะได้กรมธรรม์ฉบับใหม่เลยแบบไม่ต้องรอ
หากประกันรถยนต์หมดอายุต่อกับเรา MNR Insurance Broker ให้คุณต่อประกันรถยนต์ หรือต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ได้ตลอด ทุกที่ ทุกเวลาที่คุณต้องการ มีบริษัทประกันภัยให้เลือกมากกว่า 20+ บริษัทชั้นนำ ขอเคลมประกันรถยนต์ได้ในขณะที่ยังผ่อนจ่ายอยู่ เรายินดีให้คำปรึกษาลูกค้าทุกท่าน…
โทร : 085-052-4444
Line : @mnrinsurancebroker
24 เม.ย 2567
24 ส.ค. 2567
12 ต.ค. 2567
30 พ.ย. 2567