หมากัด & แมวข่วน ประกันอุบัติเหตุคุ้มครองหรือไม่?

Last updated: 3 ก.ค. 2567  |  195 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หมากัด & แมวข่วน ประกันอุบัติเหตุคุ้มครองหรือไม่?

 


 

หมากัด & แมวข่วน ประกันอุบัติเหตุคุ้มครองหรือไม่?

หลายๆคน คงอาจจะเคยสงสัยว่าหากโดนหมากัด แมวกัด หรือ แมวข่วน จะนับว่าเป็นอุบัติเหตุหรือไม่ แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จะสามารถเบิกในส่วนประกันอุบัติเหตุได้หรือไม่ วันนี้เราจะมาคลายข้อสงสัยกัน แต่ก่อนอื่นเรามาเรียนรู้กับคำ ประกันอุบัติเหตุกัน
 

ประกันอุบัติเหตุ หรือที่หลายคนเรียกว่า ประกัน PA คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองกับผู้เอาประกันภัย ในกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ บาดเจ็บจากร่างกาย หรือความเสียหายจากการประสบอุบัติเหตุเท่านั้น โดยผู้เอาประกันภัยจะได้รับความคุ้มครอง เช่น เงินชดเชย ค่ารักษาพยาบาล หรือในบางแผนอาจจะมีค่าชดเชยรายวันในกรณีที่ต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอีกด้วย นอกจากอุบัติเหตุทั่วไปแล้ว ในบางแผนก็จะมีการขยายความคุ้มครองเพิ่มเติม อย่างเช่น อุบัติเหตุจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์, ค่าใช้จ่ายทันตกรรมที่เกิดจากอุบัติเหตุ, การถูกฆาตกรรมหรือถูกทำร้าย ร่างกาย หรือเงินช่วยเหลือพิเศษ

 

 

 

ประกันอุบัติเหตุคุ้มครองกรณีการถูก หมากัด แมวข่วน หรือไม่ ?

คำตอบคือ  คุ้มครอง หากเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากความไม่ได้ตั้งใจ

สามารถแจ้งเคลมค่ารักษาค่าล้างแผล ค่าอุปกรณ์พันแผลรวมถึงค่ายารักษาต่อเนื่องได้ตามวงเงินทุนประกัน หากไม่ใช่โรงพยาบาลในเครือจะเป็นการสำรองจ่ายก่อนแล้วนำใบเสร็จมาเบิกทีหลัง




วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกสุนัขกัด หรือแมวข่วน


หากโดนสุนัขกัด แมวข่วน หรือทำร้ายให้เกิดแผลใด ๆ ก็ตามที่ร่างกายควรปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

1. ล้างแผลทันทีด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำสะอาดในปริมาณมาก ๆ ฟอกสบู่ให้ทั่วบาดแผล หรือถ้าแผลลึกให้ฟอกสบู่ไปถึงก้นแผลอย่างน้อย 15 นาที และล้างสบู่ออกให้หมดจด

* ข้อควรระวัง : ควรทำอย่างเบามือ พยายามอย่าให้แผลช้ำ และไม่ควรทาครีมใด ๆ ที่ผิวบริเวณที่มีบาดแผล

2. ถ้ามีเลือดออก ควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น

3. เมื่อล้างแผลและใช้ผ้าก๊อซซับให้แห้งแล้ว ให้เช็ดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ โดยควรใช้โพวิโดนไอโอดีน (Povidone iodine) หรือฮิบิเทนในน้ำ (Hibitane in water) แต่ถ้าไม่มียาฆ่าเชื้อเหล่านี้ สามารถใช้แอลกอฮอล์ 70% เช็ดรอบๆปากแผล หรือทิงเจอร์ไอโอดีน เช็ดเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่แผลได้

*ข้อควรระวัง : อย่าใส่สิ่งอื่น เช่น เกลือ ยาฉุน ลงในแผล ไม่ควรเย็บแผล และไม่ควรใช้รองเท้าตบแผล เพราะอาจทำให้เชื้อกระจายไปรอบบริเวณที่เกิดแผลได้ง่าย และอาจมีเชื้อโรคอื่นเข้าไปด้วย ทำให้แผลอักเสบได้ ยกเว้นในกรณีที่แผลใหญ่มาก เลือดออกมาก สามารถปิดปากแผลเพื่อห้ามเลือดได้

4. ไปโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยที่ใกล้ที่สุดในทันทีเพื่อรับการรักษาและฉีดวัคซีนป้องกันโรค

 

           หากสนใจทำประกันอุบัติเหตุ (PA) กับเรา MNR Insurance Broker ได้ตลอด ทุกที่ ทุกเวลาที่คุณต้องการ มีบริษัทประกันภัยให้เลือกมากกว่า 20+ บริษัทชั้นนำ เรายินดีให้คำปรึกษาลูกค้าทุกท่าน…

โทร  : 085-052-4444

Line : @mnrinsurancebroker

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้