9 โรคและอาการที่ห้ามทำใบขับขี่

Last updated: 8 พ.ย. 2567  |  106 จำนวนผู้เข้าชม  | 

9 โรคและอาการที่ห้ามทำใบขับขี่

รวมโรคที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่ มีอะไรบ้างรวมโรคที่ห้ามขับรถ ห้ามทำใบขับขี่ มีอะไรบ้าง


1. โรคลมชัก     
 โรคลมชัก เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมองที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับผู้คนทุกเพศทุกวัย ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดอาการชักเกร็ง กระตุกจนสูญเสียความสามารถในการขับขี่รถยนต์ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภาพหลอน หูแว่ว หรือหัวใจเต้นผิดปกติอีกด้วย

2. โรคที่เกี่ยวกับสายตา     
 สำหรับผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับสายตา อาจส่งผลทำให้การขับรถในช่วงเวลากลางคืนมองเห็นทัศนียภาพเส้นทางต่างๆ ได้ไม่ดีนัก การมองเห็นแสงไฟพร่ามัว รวมไปถึงทำให้มุมมองสายตาแคบลง ไม่ว่าจะเป็นอาการจอประสาทตาเสื่อม ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น 

3. อาการหลงลืม     
 สำหรับผู้ที่มีอาการหลงลืมโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ที่จะจดจำเส้นทางไม่ได้ อาการที่ส่งผลให้การตัดสินใจเร่งด่วนได้ยากลำบาก ตัดสินใจช้า ไม่มีสมาธิในการขับขี่ ซึ่งอาจทำให้ขับรถได้อย่างไม่ปลอดภัยนั้นเอง

4. โรคหัวใจ     
 สำหรับโรคหัวใจ เป็นโรคที่จะทำให้ผู้ขับขี่รถมีอาการเจ็บหน้าอก หรือ แน่นหน้าอกขณะขับรถได้ เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์การขับรถนานๆ อาจเกิดความเครียด ความกดดันจากรถติด หรือปัญหาการจราจร จนทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกขณะขับรถได้

5. โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้)     
 ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่ไม่สามารควบคุมได้ หากปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้หน้ามืด ใจสั่น สมาธิไม่ดี ตาพร่า ไปจนถึงขั้นหมดสติได้ จะทำให้ความสามารถในการขับขี่นั้นลดตามลงไปด้วย หากขับรถก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

6. โรคหลอดเลือดในสมอง     
 โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นภาวะที่สมองขาดเลือด หรืออาการเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้ความไวในการตอบสนองช้าลง ไม่มีแรงในการบังคับพวงมาลัยหรือเปลี่ยนเกีย แขนขานั้นไม่มีแรงขับรถ หรือ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก บางคนนั้นอาจมีการเกร็งและชักกระตุก หรือ ขากระตุก

7. โรคพาร์กินสัน     
 สำหรับโรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะมีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น เคลื่อนไหวได้ช้าลง ทรงตัวได้ลำบาก ตัดสินใจได้ช้าลง ซึ่งหากขับขี่รถยนต์ก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้

8. โรคไขและข้ออักเสบ    

 โรคหรืออาการที่เกิดจากการปวดข้อ ปวดกระดูก หรือข้ออักเสบต่างๆ เหล่านี้มักจะมีผลกระทบต่อการขับรถโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการปวดตามข้อต่างๆ เมื่อต้องนังขับรถเป็นระยะเวลานาน การหันมองกระจกข้างได้ลำบากเนื่องจากกระดูคอที่เสื่อม รวมไปถึงการเหยียบคันเร่งที่ไม่เต็มที่เนื่องจากกระดูกข้อเข่าเสื่อมสภาพ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

9. มีอาการป่วย ต้องทานยาบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วงซึม

 สำหรับผู้ที่มีอาการป่วย ต้องทานยาบางชนิดที่มีผลทำให้ง่วงซึมเป็นประจำ อาจทำให้เกิดการหลับในมึนงงและสับสนขณะขับรถ รวมไปจนถึงการตัดสินใจต่างๆ และสมาธิในการขับรถก็ลดลงไปด้วย



          จะเห็นได้ว่า 9 โรคและอาการที่กล่าวมาข้างบนนี้สามารถก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ใช้เส้นทางบนท้องถนนทั้งต่อตัวเราและผู้อื่น ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงการขับรถเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและเพื่อนร่วมทาง และสิ่งที่สำคัญอย่าลืมทำประกันรถยนต์ ไว้เพิ่มความอุ่นใจตลอดการเดินทาง เราขอแนะนำทำประกันภัยรถยนต์กับเราบริษัทเอ็มเอ็นอาร์ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ มีครบทุกชั้นประกันภัยรถยนต์ มีให้เลือกมากกว่า 20 บริษัทประกันภัยชั้นนำ ยินดีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง


สนใจทำประกันนึกถึง MNR Insurance Broker เรายินดีให้คำปรึกษาลูกค้าทุกท่าน…
โทร  : 085-052-4444
Line : @mnrinsurancebroker

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้