Last updated: 8 เม.ย 2565 | 309 จำนวนผู้เข้าชม |
1. ประกันภาคบังคับ (พ.ร.บ.)
- พ.ร.บ. คุ้มครองคน ไม่คุ้มครองรถ
- เมื่อเกิดเหตุหากมีคนเจ็บ หรือเสียชีวิต ต้องเบิกจาก พ.ร.บ. ก่อนทุกครั้ง
- หากวงเงินไม่พอจึงจะไปเบิกจากภาคสมัครใจ
- หากไม่มี พ.ร.บ. ต่อภาษีประจำปีไม่ได้
- รถไม่มี พ.ร.บ. โทษปรับ 20,000 บาท
- ปรับคนขับ 10,000 บาท
- ปรับเจ้าของรถ 10,000 บาท
ในกรณีขาดการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ จะไม่ต้องเสียค่าปรับในการต่อ พ.ร.บ. ใหม่อีกครั้ง แต่จะส่งผลให้มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจแล้วเจ้าของรถไม่มีหลักฐานแสดงหรือขาดต่อ พ.ร.บ. ก็จำเป็นที่จะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายนั่นเอง และหลังจากที่เสียค่าปรับแล้วนั้นหากรถคันไหนไม่ได้ทำการต่อ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถเสียภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้อีกด้วย และเมื่อไม่ได้เสียภาษีรถยนต์หรือปล่อยไว้นานจนทะเบียนรถขาด เจ้าของรถจะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1 ต่อเดือนอีกด้วย
2. ต่อภาษี (ป้ายสี่เหลี่ยม)
- เป็นการเสียภาษีประจำปีตามกฎหมาย
- รถยนต์เกิน 7 ปี ต้องตรวจสภาพที่ ตรอ.
- มอเตอร์ไซค์เกิน 5 ปี ต้องตรวจสภาพที่ ตรอ.
- โทษปรับไม่ต่อภาษี 400 - 1,000 บาท
- ไม่ต่อภาษีเกิน 3 ปี ถูกระงับทะเบียน และจะต้องนำรถไปตรวจใหม่ที่ขนส่งเท่านั้น
3. ประกันภาคสมัครใจ (ความคุ้มครองตามประเภทการรับประกัน)
- มีความคุ้มครองให้เลือกหลากหลายตามประเภทการใช้งาน
- คุ้มครองค่าซ่อมรถและทรัพย์สินของคู่กรณี
- คุ้มครองรถตัวเองตามประเภทที่ซื้อ
- คุ้มครองค่ารักษาส่วนที่เกินจาก พ.ร.บ.
- คุ้มครองกรณีเสียชีวิต ค่ารักษาพยาบาล และประกันตัวผู้ขับขี่
ดังนั้นการมีทั้ง 3 อย่างนี้ให้กับรถของคุณที่ใช้ขับขี่อยู่ทุกวันๆ จะทำให้การเดินทางของคุณทุกครั้งมีความอุ่นใจและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะถูกต้องตามกฎหมายแล้วยังช่วยคุ้มครองทั้งตัวคุณและรถที่คุณรักอีกด้วย
30 พ.ย. 2567
13 พ.ย. 2567
11 ธ.ค. 2567