Last updated: 7 ธ.ค. 2567 | 70 จำนวนผู้เข้าชม |
ซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสองกับมอเตอร์ไซค์มือหนึ่ง แบบไหนดีกว่ากัน
ใครกำลังวางแผนจะซื้อมอเตอร์ไซค์คันใหม่ อาจกำลังลังเลว่าจะซื้อมอเตอร์ไซค์มือหนึ่งหรือมือสองดี รวบรวมข้อดีข้อเสียของทั้งสองแบบ โดยการเปรียบเทียบกับรถมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน ที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น คุ้มค่ากับงบประมาณที่ตั้งไว้อย่างแน่นอน ไปดูกันเลยครับว่าการซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสองกับมอเตอร์ไซค์มือหนึ่ง แบบไหนที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณมากที่สุด
ข้อดีของการซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือหนึ่ง
คุณสามารถหารีวิวจากผู้ใช้งานจริงก่อนตัดสินใจซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสองได้เยอะกว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่ละเอียด มีทั้งข้อดีข้อเสียจากการใช้งานรถคันนั้นจริง ๆ ช่วยตอบทุกข้อสงสัยของคุณได้อย่างแน่นอน เพราะการอ่านรีวิวจากผู้ใช้งานจริง ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของคนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
ข้อเสียของการซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสอง
ผู้ขายบางคนอาจไม่เปิดเผยประวัติของรถมอเตอร์ไซค์คันนั้นทั้งหมด หรือปัญหาบางอย่างอาจยังไม่ปรากฏให้เห็นทันทีตอนรับรถแม้จะลองขับแล้วก็ตาม ซึ่งอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดตามมาได้
หากคุณต้องเจอกับปัญหาข้างต้น และรถไม่ได้อยู่ในการรับประกันของผู้ผลิตแล้ว หมายความว่าคุณจะต้องรับผิดชอบการซ่อมแซมหรือปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองทั้งหมด
หากไม่รู้ประวัติการบำรุงรักษา ไม่รู้ว่าเจ้าของเดิมดูแลบำรุงรักษารถดีแค่ไหน โดยเฉพาะรถมอเตอร์ไซค์ที่ผ่านการใช้งานมาเยอะ อาจจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษา หรือเปลี่ยนชิ้นส่วนบางอย่างที่สึกหรอเร็วขึ้น บ่อยขึ้น ทำให้มีค่าบำรุงรักษาที่สูง และอาจทำให้ต้นทุนโดยรวมสูงกว่าเมื่อเทียบกับการซื้อรถใหม่
อะไหล่มอเตอร์ไซค์บางรุ่นอาจหาได้ยาก หรือแทบจะหาไม่ได้แล้ว เมื่อรถได้รับความเสียหายจนต้องเปลี่ยนอุปกรณ์หรืออะไหล่ หากไม่สามารถหามาเปลี่ยนได้ ก็อาจจะส่งผลต่อการใช้รถมอเตอร์ไซค์ได้อย่างที่ต้องการ
วิธีดูรถมอเตอร์ไซค์มือสองนอกจากดูสภาพภายนอกแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องดูเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการใช้งานรถคือ ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ในเบื้องต้น มองหารอยรั่ว คราบของน้ำมันหรือสารหล่อเย็นรอบ ๆ เครื่องยนต์ ตรวจสอบระบบเบรก การสึกหรอของผ้าเบรกว่าต้องพร้อมใช้งาน จากนั้นให้ลองสตาร์ทรถแล้วฟังเสียงเครื่องยนต์ว่าผิดปกติหรือไม่ ทางที่ดีแนะนำให้ทดลองขับดูอีกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ
วิธีการเลือกซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสองให้ได้ของที่คุ้มค่าและไม่โดนหลอก
1. รูปแบบของรถตรงกับการใช้งานและความชอบขนาดไหน
ควรพิจารณาถึงการใช้งานเป็นหลัก เช่น ถ้าใช้ในการขนของ อาจจะเลือกรถที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก มีโครงสร้างและช่วงล่างที่ดีเหมาะสมต่อการรับน้ำหนัก หรือถ้าขับขี่เป็นประจำทุกวันและมีระยะทางไกล อาจจะเลือกรุ่นที่ประหยัดน้ำมัน นั่งสบาย และพอที่จะทำความเร็วได้ดีในระดับหนึ่ง
นอกจากรูปแบบการใช้งานแล้ว ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปร่างหน้าตาก็มีความสำคัญเช่นกัน การได้รถที่ชอบนั้นก็อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสามารถทำให้ใช้รถต่อไปได้ในระยะยาว
2. ผู้ขายต้องมีความน่าเชื่อถือ
ความน่าเชื่อถือของผู้ขายนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในกรณีที่ซื้อกับร้าน ควรมีหน้าร้านชัดเจน มีรถให้เลือกหลายรุ่น พนักงานขายมีความรู้ สามารถตอบคำถามรวมไปถึงให้คำแนะนำได้ รถที่ขายได้รับการตรวจสภาพ ได้รับการรับรองและมีบริการหลังการขาย
แต่หากเลือกซื้อจากบุคคล ก็ควรจะตรวจสอบเพิ่มเติมในส่วนของเอกสารต่าง ๆ ว่าอยู่ครบหรือไม่ เล่มทะเบียน ภาษี และ พรบ. ล้วนเป็นเอกสารสำคัญและจำเป็นต้องมี รวมไปถึงประวัติในการเข้ารับบริการ เช่นการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หรืออะไหล่ต่าง ๆ
3. ตรวจเช็คสภาพภายนอก
สภาพภายนอกของมอเตอร์ไซค์นั้นควรอยู่ในภาพสมบูรณ์ อาจจะมีร่องรอยจากการใช้งาบ้าง แต่ไม่ควรมีการแตกหัก ร่องรอยจากการล้มหรืออุบัติเหตุ ซึ่งเราจะสังเกตได้จาก
ตัวถัง – ไม่ควรมีการต่อเติม ตัดแปลง แก้ไข ไม่มีรอยการเชื่อมใหม่ หากตัวถังมีร่องรอยการพ่นสีใหม่ อาจจะคาดเดาได้ว่าเป็นรถที่ได้รับการซ่อมตัวถังมาแล้ว
โช้คอัพ – ต้องไม่บิดเบี้ยว ไม่มีคราบน้ำมันซึมออกมา สามารถใช้งานได้เป็นปกติ กดแล้วคืนตัว
ช่วงล่าง – ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อยู่ครบ และตรงตามรุ่นของรถคันนั้น ๆ ไม่มีหลุด หลวม และไม่มีร่องรอยของการดัดแปลงแก้ไขใด ๆ
สายยาง สายไฟ – สายไฟควรอยู่ในสภาพดี ฉนวนสายไม่กรอบหรือละลาย ในจุดที่มีการเชื่อมต่อสาย ควรเชื่อมต่อด้วยอุปกรณ์/วิธีที่ถูกต้อง ได้มาตรฐาน สายยางอยู่สภาพที่ดี ไม่บวม ไม่แข็ง ไม่มีรอยแตกหรือรั่ว ข้อต่อมีความแน่นหนา
เพลา โซ่ - ไม่มีเสียงติดขัดในจังหวะที่รถเคลื่อนตัว ไม่สึกหรอหรือสนิมขึ้น
ท่อไอเสีย – ควรเป็นของเดิมตามรุ่นของรถ ไม่มีการดัดแปลงทั้งภายนอกและภายใน ระดับของเสียงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่มีคราบของเหลออกมาจากท่อ
การตรวจสอบภายนอกเบื้องต้นนี้พอจะช่วยให้เราได้ทราบว่า รถคันนี้ผ่านการใช้งานมามากน้อยแค่ไหน และได้รับการบำรุงรักษาที่ดีหรือเปล่า จากนั้นเราก็จำเป็นต้องตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ
4. ตรวจดูเครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ ภายใน
เครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ นั้นมีการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งเราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าการทำงานของเครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ นั้นถูกต้องหรือไม่ หากไม่สตาร์ทเครื่องยนต์
เครื่องยนต์ - นอกจากการตรวจสอบการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแล้ว ก็ควรตรวจสอบการเปลี่ยนอุปกรณ์อื่นด้วย เช่น หัวเทียน หรืออื่น ๆ ที่มีอายุการใช้งาน หลังจากสตาร์ท เครื่องยนต์ต้องเดินเรียบ ไม่สะดุด ไม่มีเสียงแปลก ๆ ขณะเครื่องยนต์ทำงาน
ตัวเครื่องภายนอกไม่มีคราบน้ำมัน สนิม ขอบยางตามจุดต่าง ๆ อยู่ในสภาพดี ไม่มีการรั่วซึม
ระบบไฟ - ต้องสามารถใช้งานได้ทุกจุด ทั้งไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟเลี้ยว กรอบไฟต่าง ๆ ใส สามารถมองเห็นได้ชัดเจน การทำงานของไฟสัญญาณบนหน้าปัดถูกต้อง ถ้าหน้าจอการแสดงผลเป็นแบบอิเล็คทรอนิค การแสดงผลต้องครบถ้วน
ระบบเบรก - ระบบเบรคนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะมันเกี่ยวเนื่องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้ขับขี่โดยตรง
ก้านเบรค (มือ) และแป้นเบรค (เท้า) ควรอยู่ในสภาพดี ไม่คดงอ ในการบีบ หรือที่เหยียบนั้นต้องไม่ลึกเกินไป เนื่องจากอาจจะเบรคไม่ทันได้ ระดับของน้ำมันเบรคมีเพียงพอ ไม่ขาด และไม่มีร่องรอยของการรั่วซึม
นอกจากเครื่องยนต์และระบบต่าง ๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการทดลองขับขี่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยตัดสินใจได้ว่ารถคันนั้น “เหมาะ” กับเรา หรือการใช้งานมากน้อยขนาดไหน
5. ทดสอบขับขี่จริง
ผู้ขายที่ดีควรอนุญาตให้มีการทดลองขับขี่ในระยะทางสั้น ๆ ได้ เพื่อเป็นการให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบการทำงานโดยรวมของรถอย่างละเอียดอีกครั้ง
ในการขับขี่ ล้อหน้าควรจะหันไปในทิศทางเดียวกับแฮนด์ ไม่มีบิดเบี้ยวหรือแกว่ง ระบบเบรคทำงานได้ดี ไม่มีเสียงขณะเบรค
หากมีข้อสงสัยหลังจากการทดลองขับขี่ ควรสอบถามจากผู้ขายในทันที เพราะการซื้อรถมือสองนั้นก็ถือว่าเป็นการลงทุนก้อนใหญ่เช่นกัน เราควรได้รับในสิ่งที่ดีและคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป
และหากคุณสนใจจะซื้อรถมอเตอร์ไซค์มือสองซักคัน ลองปรึกษากับ หรือใครสนใจประกันภัยรถยนต์ นึกถึง MNR Insurance Broker คอยให้บริการ สามารถสอบถามเพิ่มเติมหรือติดตามได้ทางช่องทางต่างๆของ MNR Insurance Broker ยินดีให้บริการ
โทร : 085-052-4444
Facbook : MNR Insurance Broker
Line : @mnrinsurancebroker
11 ธ.ค. 2567
13 พ.ย. 2567
8 พ.ย. 2567
28 ก.พ. 2567