สัญญาณบ่งบอกร่างกายกำลังได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5
ฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไประยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะถ้ามีการสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานานๆ เช่น
ทำให้มีปัญหาผื่นคัน ผื่นแพ้, ลมพิษ, ผิวหน้าเหี่ยวแพ้ง่าย และเกิดริ้วรอยบริเวณร่องแก้มมากยิ่งขึ้นด้วย
กระตุ้นภูมิแพ้, โรคหืด, โรคถุงลมโป่งพอง, ทำให้เกิดปัญหาโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, มะเร็งปอด
ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจเรื้อรัง
- มีผลต่อการพัฒนาการสติปัญญาของเด็ก
กระทบต่อการเจริญเติบโตของร่างกายในเด็ก และสามารถส่งผลถึงทารกในครรภ์มารดาทำให้เจริญเติบโตช้าหรือคลอดก่อนกำหนดได้
“ทุกคนทุกวัยมีความเสี่ยงต่อฝุ่น PM 2.5 ดังนั้น ควรป้องกันการรับฝุ่น PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายกันทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่จะทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด, โรคหัวใจ ฯลฯ หญิงตั้งครรภ์ และเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี”
วิธีป้องกัน และดูแลสุขภาพจากฝุ่น PM 2.5 แนะนำ 3 วิธีหลักๆ คือเช่น N95 หากไม่มีอาจใช้หน้ากากอนามัยซ้อนกัน 2 ชั้น แต่การสวมใส่หน้ากาก ควรสวมใส่อย่างถูกต้อง คือ
ควรสวมใส่ปิดให้แนบสนิทกับใบหน้าทุกส่วน- ควรอยู่ในอาคาร บ้าน หรือพื้นที่ปิดมิดชิดมากกว่าการอยู่นอกบ้านหรือในพื้นที่โล่ง
เพราะจะมีโอกาสสัมผัสฝุ่นน้อยลง
- ควรเปิดเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองที่มีคุณสมบัติในการกรองฝุ่น PM 2.5 ในกรณีที่ไม่มีการเปิดแอร์ ก็ควรเปิดพัดลมร่วมกับเปิดเครื่องฟอกอากาศ โดยปิดห้องให้มิดชิดไม่ให้อากาศภายนอกเข้ามาภายในห้อง”

สาเหตุของการเกิดฝุ่น PM 2.5
ส่วนใหญ่เกิดมาจากไอเสียของยานพหนะ
เครื่องยนต์ดีเซลที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์
- เครื่องยนต์เก่าขาดการบำรุง
- ระบบจ่ายน้ำมันชำรุด
- เครื่องยนต์หรือกระบอกสูบที่ชำรุด
- การบรรทุกของเกินพิกัด
- หัวฉีดปั๊มน้ำมันเชื้อเพลิงชำรุด
- ไส้กรองอากาศสกปรก เกิดการอุดตัน
แนวทางการแก้ไข
- หมั่นเปลี่ยนถ่ายน้ำมันตามระยะที่กำหนด
- หมั่นตรวจเช็คและทำความสะอาดไส้กรองสม่ำเสมอ
- ตรวจเช็คระบบหัวฉีดและระบบจ่ายน้ำมันของเครื่องยนต์
- หลีกเลี่ยงบรรทุกเกินพิกัด
- นำเครื่องเข้าศูนย์เช็คสภาพตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์
- สนับสนุนการใช้น้ำมัน B10 ช่วยลดฝุ่น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
www.thainakarin.co.th
www.energynewscenter.com