Last updated: 13 ธ.ค. 2566 | 540 จำนวนผู้เข้าชม |
จากสถานการณ์ในไทยตอนนี้ปริมาณค่าฝุ่น PM 2.5 ที่ดูเหมือนว่า จะยังวนเวียนอยู่บนท้องฟ้าเมืองไทยแบบยาว ๆ เรื่องแก้ไขระยะยาว คงต้องหายใจลึก ๆ พร้อมประโยคว่า “ต้องร่วมมือกัน!” เพื่อให้ “ต้นเหตุ” ของปัญหาฝุ่นได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง แต่สำหรับปัญหาเฉพาะหน้าที่ประชาชนต้องเจอ โดยเฉพาะเรื่อง “การดูแลสุขภาพร่างกาย” เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ควรละเลย
ซึ่งบอกเลยว่าถ้าใครที่ไม่ได้เตรียมตัวป้องกันให้ดี หรือวันไหนเผลอลืมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อไหร่ อาการคันคอ ไอ จาม เจ็บคอ ไปจนถึงมีอาการผิวเป็นผื่นคัน หรือในบางคนที่มีอาการแพ้หนัก ๆ ก็ถึงขั้นมีอาการบวมตามใบหน้าขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งการป้องกันฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ไม่ให้เข้าร่างกายก็คือการใส่หน้ากากอนามัยนั่นเอง แต่นอกจากการใส่หน้ากากอนามัยที่ช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่น PM 2.5 เข้าร่างกายได้แล้ว การเตรียมร่างกายให้แข็งแรงจากภายในก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เราสู้กับเจ้าฝุ่นชนิดนี้ได้เช่นกัน ซึ่งการเตรียมร่างกายให้แข็งแรงจากภายใน ก็คือการเลือกกินอาหารที่มีสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายของเราพร้อมกับการสู้กับฝุ่นได้
มีส่วนช่วยการทำงานของปอด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดดีขึ้น รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ดีขึ้น
พืชผักจำพวก ตำลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศ มันหวาน
เพราะการหายใจเอา “ฝุ่นพิษ” เข้าไป อาจมีผลกระทบให้อวัยวะภายในร่างกายเกิดการอักเสบได้ ซึ่งสารอาหารที่มีวิตามินซี มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีส่วนช่วยยับยั้งการอักเสบของร่างกาย
ผักและผลไม้สดที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ มะม่วง สับปะรด ฝรั่ง มะละกอ รับประทานให้เพียงพอในแต่ละวัน ประมาณ 210-280 กรัม
มีผลการวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุที่พักอาศัยในเขตที่มีฝุ่นหนาแน่น พบว่า หากได้รับอาหารที่มีสารอาหารโอเมก้า 3 ประมาณวันละ 2 กรัม ช่วยลดกระทบจากฝุ่น PM 2.5 ลงได้ อาหารที่พบสารโอเมก้า 3 อยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ สัตว์จำพวกปลา ทั้งปลาน้ำเค็ม และปลาน้ำจืด เช่น ปลาดุก ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาช่อน หรือปลาทู (อย่างน้อยวันละ 1 ตัว)
“ซัลฟูราเฟน” เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประเภทหนึ่ง มีส่วนช่วยขจัดสารพิษ และเสริมให้ร่างกายมีความแข็งแรงมากขึ้น ช่วยในลดการอักเสบ และช่วยกำจัดสารก่อมะเร็ง สารจำพวกนี้พบได้ตามธรรมชาติ และอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป ส่วนใหญ่พบในพืชผัก ได้แก่ บรอกโคลี กะหล่ำปลี
ในเวลาปกติ กลุ่มพืชผักผลไม้ และวัตถุดิบอาหารเหล่านี้ ควรกินอยู่เป็นประจำ เพื่อช่วยเสริมให้ร่างกายมีความแข็งแรง แต่ในช่วงเวลาที่มี “ฝุ่นพิษ” มากเกินมาตรฐานแบบนี้ แนะนำให้ควรกินอย่างสม่ำเสมอ มากไปกว่านั้น คือการดูแลร่างกายในด้านอื่น ๆ เช่น การออกกำลังกาย (ในที่ร่ม) เพื่อให้ร่างกายมีความแข็งแรง รวมทั้งสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นอยู่เสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ทั้งหมดจะช่วยเป็นเสมือน “เกราะคุ้มกัน” ให้ร่างกายต่อสู้ต้านกับฝุ่นพิษได้เป็นอย่างดี
สนใจทำประกันนึกถึง MNR Insurance Broker
ยินดีให้คำปรึกษาบริการ ช่องทางไลน์ @mnrinsurancebroke หรือ โทรสอบถามข้อมูลได้ที่ 085-052-4444
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: รายการคนสู้โรค ตอน อาหารต้านพิษฝุ่น
18 ม.ค. 2568